วิสัยทัศน์อาเซียน

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์อาเซียน


วิสัยทัศน์ของอาเซียน
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนในปี 2020 ในส่วนเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกในทุก ๆ ด้าน โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร ( ASEAN 2020: Partnership in Dynamic Development )”
ต่อมาในปี 2550 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ.2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2020 ทั้งนี้หลักการใหญ่ของวิสัยทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป ได้แก่ การดำเนินการลดภาษีภายใต้อาฟต้า การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน การเปิดเสรีการบริการในสาขาต่าง ๆ การกำหนดให้อาเซียนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านต่าง ๆ เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ของโลกได้ เช่น ปรับปรุงด้านการคมนาคมขนส่ง ให้เชื่อมโยงกัน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือ เพื่อลดช่องว่างความ เหลื่อมล้ำ ทางด้านรายได้ของ ประเทศอาเซียนโดยเฉพาะสมาชิกใหม่ ตลอดจน สนับสนุนภาคเอกชน ให้สามารถแข่งขัน ด้านการค้า และการลงทุนกับเอกชนของประเทศในเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ เป็นต้น
พันธกิจของอาเซียน
1. รักษาและส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในอาเซียน​
2. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในมิติต่างๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
3. ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในฐานะสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ และเลขานุการคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ
4. สร้างความตระหนักรู้ ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และการดำเนินการเชิงรุกในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียนต่อสาธารณชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
5. สนับสนุนการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งบูรณาการแผนดำเนินงานการเชื่อมโยงระหว่างประชาคมทั้งสาม ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
เป้าประสงค์ของอาเซียน
1. รักษาและส่งเสริมสถานะ/บทบาทของประเทศไทยในเวทีอาเซียนทั้งในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองศักยภาพและความเจริญทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในกรอบความร่วมมือที่มีอาเซียนเป็นแกนนำ
2. ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แก้ไขภัยคุกคามรูปแบบใหม่และผลกระทบทางลบที่เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างกัน
3. ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งทางการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
4. ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-จีน จะดำเนินบทบาทเชิงรุกที่สร้างสรรค์
5. ร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี2558ให้สามารถมองเห็นภาพรวมความร่วมมือกรอบอาเซียนและบูรณาการแผนดำเนินงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ไทยพร้อมก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ยุทธศาสตร์ของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ดำเนินการเชิงรับและรุกในมิติต่างๆ เพื่อรักษาและผลักดันบทบาท/จุดแข็งของไทยในเวทีอาเซียนทั้งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 5 ประเทศ และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของประเทศไทย เพิ่มบทบาทยุทธศาสตร์ของไทยในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อสร้างความก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อาทิ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนธรรมาภิบาลการลดช่องว่างเพื่อการพัฒนา การเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สนับสนุนและส่งเสริมการเชื่อมโยงที่ครบวงจร ระหว่างทั้ง ๓ ประชาคมอาเซียน และในกรอบเวทีต่าง ๆ ทั้งอาเซียน อาเซียนบวกหนึ่งกับประเทศคู่เจรจาเป็นรายประเทศ อาเซียนบวกสาม และเวทีเอเชียตะวันออก เป็นต้นเพื่อสนับสนุนกระบวนการรวมตัวในอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ผลักดันวาระของประชาชนในอาเซียน อาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ ประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาข้ามชาติ และผลกระทบที่เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ผลักดันแนวทางดำเนินงานภายในประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเตรียมความพร้อมของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนแก่สาธารณชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น